ท่องเที่ยวดอนช้าง

เรียนรู้และดื่มด่ำกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุมชนดอนช้าง

ประวัติความเป็น

ชุมชนดอนช้างในปัจจุบันมีการตั้งบ้านเรือนมาประมาณ ๒๐๐ ปี มีเส้นทางสัญจรที่เชื่อมโยงไปยังชุมชนต่างๆ หลายเส้นทาง มีกลุ่มคนหลากหลายผ่านไปมา รวมทั้งกลุ่มคนที่มีอาชีพเลี้ยงช้าง ซึ่งนำช้างผ่านมาในเส้นทางนี้เป็นประจำ และต่อมาได้เข้ามาจับจองพื้นที่ ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยถาวร และค่อยๆ มีผู้คนในละแวกใกล้เคียงอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพที่งดงามของพื้นที่ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และนครราชสีมา

ตำบลดอนช้างได้รับยกฐานะจากสภาตำบลดอนช้าง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลดอนช้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แม้ว่าวิถีชีวิตของผู้คนในตำบลดอนช้างปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของบ้านเมืองและยุคสมัยต่างๆ แต่ชาวตำบลดอนช้างส่วนใหญ่ยังคงรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามเอาไว้ได้อย่างยืนนาน

 

คำขวัญตำบลดอนช้าง

แก่งน้ำต้อนสวยตระการ โบราณสถานกู่แก้ว เพริศแพร้วโนนจาน สืบสานหัตถกรรมหม้อดิน ถิ่นอนุรักษ์ควายงาม นามดอนช้างสร้างเสบียงสัตว์

 

ตำบลดอนช้างมีพื้นที่ทั้งหมดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ประมาณ ๒๗,๒๘๖ ไร่ หรือ ๔๓.๖๐ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีพื้นที่สูงต่ำสลับกัน ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเกษตรกรรม โดยอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ

ดอนช้าง เป็นตำบลใหญ่ ๑ ใน ๑๗ ตำบล ของอำเภอเมืองขอนแก่น แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๘ หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ ๑ บ้านดอนช้าง หมู่ ๒ บ้านป่าเหลื่อม หมู่ ๓ บ้านป่าสังข์ หมู่ ๔ บ้านหนองฮี
หมู่ ๕ บ้านหัวบึง หมู่ ๖ บ้านหัวสระ หมู่ ๗ บ้านดอนหญ้านาง หมู่ ๘ บ้านนิคม

 

หมู่ ๑ บ้านดอนช้าง

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายบรรดล จำปา ที่นี่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย เช่น กลุ่มทอเสื่อกก กลุ่มทอผ้าฝ้าย มีโฮงต่ำฮูกสืบสานงานฝีมือทอผ้าฝ้ายให้ลูกหลาน และยังมีป่าชุมชนผืนใหญ่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติสำคัญ  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๒ บ้านป่าเหลื่อม

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายอุทัย ผุยพัฒน์ ที่นี่มีกลุ่มทอเสื่อ กลุ่มทำปลาส้ม และกลุ่มกล้วยฉาบ ยังมีป่าชุมชนดอนช้าง-ป่าเหลื่อม ป่ารอยต่อผืนเดียวกับหมู่ที่ ๑  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๓ บ้านป่าสังข์

กำนัน คือ นางอรทัยรัตน์ พรมศรี ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักต่างๆ กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ กลุ่มประมง กลุ่มทอเสื่อ  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๔ บ้านหนองฮี

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายจตุรงค์ ศรีเมืองเฮ้า ชาวบ้านที่นี่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับอาชีพประมง และเกษตรกร อยู่ใกล้แก่งน้ำต้อน และแก่งกุดพาน ยังมีกลุ่มผักปลอดภัย กลุ่มแปรรูปอาหาร กลุ่มทอเสื่อ กลุ่มจักสาน  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๕ บ้านหัวบึง

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายประดิษฐ์ แต้มกลาง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์และปั้นเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากโคราช  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๖ บ้านหัวสระ

ผู้ใหญ่บ้านคือ นางประกาศ เสาร์เวียง ที่นี่มีโบราณสถานกู่แก้วเป็นศูนย์กลางศรัทธาของชุมชน อาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านคือ ปั้นหม้อเช่นเดียวกับบ้านหัวบึง  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๗ บ้านดอนหญ้านาง

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายคนอง สมพล ที่หมู่บ้านนี้มีกลุ่มทอผ้าไหม ที่ยังได้รับการส่งเสริมและสืบทอดถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหมในทุกขั้นตอน นอกจากนั้นมีการปลูกหญ้ารูซี่เพื่อปศุสัตว์  อ่านเพิ่มเติม

 
หมู่ ๘ บ้านนิคม

ผู้ใหญ่บ้านคือ นายอาทิต เจ็กสี ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด ปลูกผัก ข้าวโพด มันหวานญี่ปุ่น และปลูกหญ้ารูซี่  อ่านเพิ่มเติม

 

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 35
  • Today's page views: : 47
  • Total visitors : 11,247
  • Total page views: 16,200