ท่องเที่ยวดอนช้าง

เรียนรู้และดื่มด่ำกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ คือ จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมของชาวอีสานที่ปฏิบัติติดต่อสืบเนื่องมาแต่โบราณ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการปกครองและการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข

สำหรับ “ฮีตสิบสอง” สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. บุญเกี่ยวกับพระสงฆ์ ได้แก่ บุญเข้ากรรม บุญข้าวจี่ บุญผะเหวด บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษา และ บุญกฐิน
  2. บุญเกี่ยวกับการทำมาหากิน การบวงสรวงขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ บุญคูณลาน และ บุญบั้งไฟ
  3. บุญเกี่ยวกับขวัญกำลังใจการดำรงอาชีพ เกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ว่าสิ่งสักดิ์สิทธิ์จะอำนวยความสุข สวัสดิภาพ ได้แก่ บุญสงกรานต์ และ บุญซำฮะ
  4. บุญเกี่ยวกับความกตัญญู ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับการทำบุญอุทิศ ได้แก่ บุญข้าวประดับดิน และ บุญข้าวสาก

 

ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ ได้แก่ ฮีต หรือ จารีต คือ ธรรมเนียม ประเพณี ที่ดีงาม ส่วน สิบสอง หมายถึง สิบสองเดือน ดังนั้น ฮีตสิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ชาวอีสานถือปฏิบัติในแต่ละเดือน ทั้ง ๑๒ เดือน

 

เดือนอ้าย
บุญเข้ากรรม

เดือนยี่
บุญคูณลาน
เดือนสาม
บุญข้าวจี่
เดือนสี่
บุญผะเหวด
เดือนห้า
บุญฮดสรง
เดือนหก
บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด
บุญซำฮะ
เดือนแปด
บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า
บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ
บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด
บุญออกพรรษา

เดือนสิบสอง
บุญกฐิน

 

คองสิบสี่

คอง แปลว่า แนวทาง หรือ ครรลอง คองสิบสี่ จึงหมายถึง ธรรมเนียมปฎิบัติสิบสี่ประการ สำหรับบุคคลในทุกระดับที่ควรปฏิบัติ

 

คองสิบสี่” เป็นแนวทางปฎิบัติที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ สำหรับใช้เป็นแนวทางในการปกครอง และแบบแผนประพฤติปฏิบัติของบุคคลกลุ่มต่างๆ สอนทั้งผู้ปกครอง พระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป ทุกเพศ วัย ทุกฐานะเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขสงบร่มเย็น ซึ่งแนวทางปฏิบัติดังกล่าว มีทั้งหมด ๑๔ ข้อ ดังนี้

 

๑.
ฮีตเจ้าคองขุน
๒.
ฮีตท้าวคองเพีย
๓.
ฮีตไพร่คองนาย
๔.
ฮีตบ้านคองเมือง
๕.
ฮีตปู่คลองย่า
๖.
ฮีตตาคองยาย
๗.
ฮีตพ่อคองแม่
๘.
ฮีตใภ้คองเขย
๙.
ฮีตป้าคองลุง
๑๐.
ฮีตลูกคองหลาน
๑๑.
ฮีตเถ้าคองแก่
๑๒.
ฮีตปีคองเดือน
๑๓.
ฮีตไฮ่คองนา
๑๔.
ฮีตวัดคองสงฆ์
 

 

๑. ฮีตเจ้าคองขุน สําหรับกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองปกครองอํามาตย์ ขุนนางข้าราชบริพาร
๒. ฮีตเจ้าคองเพีย สําหรับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในการปกครองข้าทาสบริวาร
๓. ฮีตไพร่คองนาย สําหรับประชาชนในการปฏิบัติตนตามกบิลบ้านเมืองและหน้าที่พึงปฏิบัติต่อนาย
๔. ฮีตบ้านคองเมือง วัตรอันพึงปฏิบัติตามธรรมเนียมทั่วไปของพลเมืองต่อบ้านเมืองและส่วนร่วม
๕. ฮีตผัวคองเมีย หลักปฏิบัติต่อกันของสามีภรรยา
๖. ฮีตพ่อคองแม่ หลักปฏิบัติของผู้ครองเรือนต่อลูกหลาน
๗. ฮีตลูกคองหลาน หลักปฏิบัติของลูกหลานต่อบุพการี
๘. ฮีตใภ้คองเขย หลักปฏิบัติของสะใภ้ต่อญาติผู้ใหญ่และพ่อแม่สามี
๙. ฮีตป้าคองลุง หลักปฏิบัติของลุง ป้า น้า อา ต่อลูกหลาน
๑๐. ฮีตคองปู่ย่า ตาคองยาย หลักปฏิบัติของปู่ย่า ตายาย ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรต่อลูกหลาน
๑๑. ฮีตเฒ่าคองแก่ หลักปฏิบัติของผู้เฒ่าในวัยชราให้เป็นที่เคารพเลื่อมในเหมาะสม
๑๒. ฮีตปีคองเดือน การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่าง ๆ ในฮีตสิบสอง (ประเพณี ๑๒ เดือน)
๑๓. ฮีตไฮ่คองนา การปฏิบัติตามประเพณีเกี่ยวกับการทําไร่ทํานา
๑๔. ฮีตวัดคองสงฆ์ หลักปฏิบัติของภิกษุสามเณรให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยทั้งการช่วยทํานุบํารุงวัดวาอาราม

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 30
  • Today's page views: : 34
  • Total visitors : 12,532
  • Total page views: 17,734