ท่องเที่ยวดอนช้าง

เรียนรู้และดื่มด่ำกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เดือนสาม – บุญข้าวจี่

 

บุญข้าวจี่ เป็นบุญที่เกิดจากความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชน ที่นัดหมายมาทำบุญร่วมกัน โดยการปลูก “ผาม” หรือ “ปะรำ” เตรียมไว้ในช่วงบ่าย พอถึงรุ่งเช้าในวันถัดมาชาวบ้านจะช่วยกัน “จี่” ข้าวเหนียว หรือ ปิ้งข้าว แล้วนำมาตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน ตามมาด้วยการฟังเทศน์นิทานชาดกเรื่อง นางปุณณทาสี 

 

การจี่ข้าว คำว่า “จี่” แปลว่า ปิ้งหรือย่าง ชาวอีสานจะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ทาเกลือ แล้วเสียบไม้ย่างไฟด้วยถ่าน ที่สุกเหลืองพอดี มีกลิ่นหอม ผิวด้านนอกเกรียมกรอบน่ารับประทาน บางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีน่ารับประทาน บ้างก็ใส่น้ำอ้อยลงไปด้วย ข้าวจี่ร้อนๆ เหมาะสมกับภูมิอากาศหนาวเย็นในเดือนสาม 

มูลเหตุของการถวายข้าวจี่นี้มาจากนิทานชาดกเรื่อง นางปุณณทาสี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล นางทาสที่ชื่อ ปุณณทาสี  ได้นำแป้งมาจี่ แล้วถวายพระพุทธเจ้า แต่ในใจของนางคิดว่าเป็นของต่ำต้อย พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน แต่พระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจของนาง ได้ฉันขนมข้าวจี่ที่นางนำมาถวาย ทำให้นางปุณณทาสีปิติดีใจเป็นยิ่งนัก ชาวอีสานจึงได้นำแบบอย่างนี้มาดัดแปลงทำเป็นบุญข้าวจี่

การทำบุญข้าวจี่ชาวบ้านอาจไปรวมกันทำที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเอง มีการไหว้พระรีบศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ แล้วตักบาตรด้วยข้าวจี่ จากนั้นจึงยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร

 

เดือนอ้าย
บุญเข้ากรรม

เดือนยี่
บุญคูณลาน
เดือนสาม
บุญข้าวจี่
เดือนสี่
บุญผะเหวด
เดือนห้า
บุญฮดสรง
เดือนหก
บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด
บุญซำฮะ
เดือนแปด
บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า
บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ
บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด
บุญออกพรรษา

เดือนสิบสอง
บุญกฐิน

อ่านเพิ่มเติม:

๒๕๖๕ งานบุญวันมาฆะบูชาและบุญข้าวจี่ ที่วัดกู่แก้วสามัคคี 

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: 

สำนักวัฒนธรรม ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฐานข้อมูลฮีต ๑๒ คอง ๑๔. สืบค้นเมื่อ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖, จาก: https://cac.kku.ac.th/heet12_kong14/main.html 

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Today's visitors: 10
  • Today's page views: : 10
  • Total visitors : 12,576
  • Total page views: 17,781